การตรวจวัดสายตา (Visual Acuity Test) – ประเภทและวิธีการวัด

การตรวจวัดสายตา (Visual acuity test หรือ “VA”)  คือ การตรวจความชัดเจนหรือรายละเอียดในการมองเห็น (การตรวจความสามารถในการมองเห็นได้อย่างชัดเจน) ความสามารถในการแยกแยะรูปทรง และรายละเอียดของสิ่งที่กำลังมองอยู่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นโดยรวมอื่น ๆ รวมไปถึง การมองเห็นสี (Color vision) และการทดสอบการมองเห็นภาพด้านข้างหรือลานสายตา (Visual Field Test) โดยเป็นการตรวจสายตาอย่างง่าย เพื่อทดสอบระไกล และใกล้ในการมองเห็น เพื่อประเมินการมองเห็นว่าผิดปกติหรือไม่ เพียงแค่ผู้รับการตรวจอ่านตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่แสดงในป้ายมาตรฐานจากระยะห่างที่กำหนดตามที่พนักงานประจำอุปกรณ์ชี้ให้อ่านก็เป็นอันเสร็จสิ้นการตรวจ ทั้งนี้การวัดสายตานับเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์ (Eye examination) และการตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไป (General physical examination) ด้วย อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ปัญหาสายตาสั้น

ทำไมต้องวัดสายตา

เราวัดสายตาเพื่อให้รู้ความผิดปกติของสายตาได้ทันก่อนที่ค่าสายตาจะเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ซึ่งค่าสายตาเป็นปัจจัยที่ทำให้การมองเห็นของคนเราชัดไม่เท่ากัน และยังส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อตรวจว่า ประสิทธิภาพการมองเห็นทั้งระยะใกล้และไกลเป็นอย่างไร ทุกคนจึงต้องหมั่นตรวจสุขภาพดวงตา รวมทั้งการวัดสายตา ซึ่งความผิดปกติของสายตาซึ่งพบได้ทั่วไป แบ่งเป็น สายตาสั้น (Nearsightedness) สายตายาว (Farsightedness) สายตาเอียง (Astigmatism) และสายตาไม่เท่ากัน (Anisometropia) 

เราสามารถวัดสายตาได้จากที่ไหนบ้าง 

อันดับแรกที่เรานึกถึงคงเป็นจักษุแพทย์ (Ophthalmologist) หรือหมอตา แม้ว่าส่วนใหญ่จะเน้นการตรวจรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับดวงตามากกว่า แต่ก็มีบริการตรวจวัดสายตาให้คนไข้เช่นกัน และคุณหมอบางท่านก็อาจมีบริการแว่น และเลนส์อีกด้วย อันดับต่อมาคือนักทัศนมาตร (Doctor of Optometry) ซึ่งจะเน้นโฟกัสในเรื่องการตรวจวัดสายตา จ่ายเลนส์สายตาของผู้ที่มีปัญหาการทำงานกล้ามเนื้อตาที่ผิดพลาด มีปัญหาเกี่ยวกับการรวมภาพ (มีปัญหาเรื่องปรึซึม) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด และอีกหนึ่งทางเลือกในการตรวจวัดสายตาคือช่างแว่นตา (Optician) ที่ผ่านการอบรมหรือมีใบประกาศนียบัตร จากสถาบันการฝึกอบรมที่ได้รับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการซึ่งได้ผ่านการเรียนหลักสูตรการตรวจวัดสายตามาสามารถวัดสายตาโดยไม่เกี่ยวข้องกับอาการที่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตาได้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ปัญหากจอประสาทตาเสื่อม

การวัดสายตามีกี่แบบ

  1. การทดสอบระยะไกล วิธีนี้ค่อนข้างเป็นที่นิยม เป็นการวัดสายตาโดยใช้อุปกรณ์มาตรฐานที่ได้รับการออกแบบมา คือแผ่นทดสอบสเนลเลนแบบตัวเลขสำหรับทดสอบการมองเห็นระยะไกล 20 ฟุต ลักษณะแผ่นทดสอบจะมีตัวเลขที่ไม่เหมือนกันวางคละกันเป็นบรรทัดเรียงตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปถึงเล็กโดยให้ผู้รับการคัดกรองอ่าน สำหรับผู้ที่ไม่รู้หนังสือสามารถใช้แผ่นทดสอบสเนลเลนแบบรูปตัวอักษรอี (E-chart) เป็นแผ่นทดสอบที่จะมีแต่ตัวอักษร “E” ในลักษณะถูกหมุนกลับหัว ชี้ขึ้น หันซ้าย และหันขวา เป็นแผ่นป้ายสําหรับผู้ที่ไม่รู้หนังสือและตัวเลข รวมถึงเพื่อตรวจสายตาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน และแผ่นทดสอบแบบเป็นรูปภาพ หรือการ์ตูน (Allen picture or cards) สำหรับตรวจสายตาเด็กเล็กโดยใช้รูปภาพเป็นตัวเบี่ยงเบนความสนใจให้เด็กยอมร่วมมือวัดสายตาได้ง่ายขึ้น
  2. การตรวจสายตาระยะใกล้ คือ การทดสอบสายตาในระยะใกล้ประมาณ 33-35 เซนติเมตร มักใช้ทดสอบผู้ที่มีสายตายาว ส่วนแผ่นทดสอบ (Near card) ที่เป็นมาตรฐานใช้กันทั่วไป คือ แผ่นทดสอบเจเกอร์ ชาร์ต (Jaeger Chart)
  3. การวัดสายตาด้วยวิธีอื่นๆ ได้แก่ การวัดสายตาด้วยเครื่องวัดสายตาคอมพิวเตอร์ สามารถพบได้ในร้านขายแว่นทั่วไป มีความแม่นยำค่อนข้างน้อย เพราะเป็นการวัดสายตาผ่านการเปลี่ยนเลนส์สายตาไปเรื่อยๆโดยให้ผู้เข้าตรวจตอบคำถามว่าเลนส์ไหนชัดน้อยหรือมากกว่ากัน ซึ่งในขณะที่ผู้ป่วยเพ่งสายตามองภาพ หรือตัวอักษรเลนส์ตาอาจมีการเบลอหรือเพ่งมากจนทำให้บอกค่าสายตาผิดพลาดได้ การวัดสายตาด้วยเครื่องเรติโนสโคป เป็นการวัดสายตาที่ให้ค่าตัวเลขค่อนข้างแม่นยำที่สุด เพราะเป็นการวัดสายตาผ่านการสังเกตการตอบสนองของเลนส์ตาของผู้เข้าตรวจเองโดยใช้การกระตุ้นของแสงจากตัวเครื่องเรติโนสโคปซึ่งสะท้อนเข้าไปในรูม่านตา  โดยเหมาะสำหรับผู้ตรวจซึ่งเป็นแพทย์ที่ได้รับการฝึกใช้เครื่องเรติโนสโคปมาอย่างชำนาญแล้วเท่านั้น และอีกวิธีหนึ่งคือการวัดสายตาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเข้ารับการทดสอบเพื่อวัดสายตาออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องไปพบจักษุแพทย์ ซึ่งวิธีนี้ไม่ดีเท่ากับการไปพบแพทย์ เพื่อขอตรวจสุขภาพตาโดยเฉพาะ โดยสามารถทดสอบเกี่ยวกับการรับรู้สีตาในผู้ที่เสี่ยงตาบอดสีรวมทั้งการตรวจภาวะตาโค้งได้เช่นกัน

Visual Acuity Test

หากวัดสายตาและพบว่าสายตาสั้นต้องทำอย่างไร

ผู้ที่สายตาสั้นควรเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อช่วยให้กลับไปมองเห็นได้ตามปกติ การแก้ไขปัญหาสายตาสั้น คือ การทำให้แสงโฟกัสไปที่จอตา ซึ่งประกอบด้วยการใช้เลนส์ปรับค่าสายตาและการผ่าตัด โดยการใช้เลนส์ปรับค่าสายตาจะช่วยให้กระจกตาที่มีความโค้งมากหรือลูกตาที่ยาวเกินไปกลับมามองเห็นได้ปกติ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การใส่คอนแทคเลนส์ และการสวมแว่นสายตา โดยเลนส์ของแว่นตาจะมีให้เลือกหลายชนิด ได้แก่ เลนส์สำหรับสายตาสั้นอย่างเดียวเหมาะแก่ผู้ที่สายตาสั้นเมื่ออายุมากขึ้นและต้องการอ่านหนังสือ จึงต้องมีแว่นสายตา 2 อัน อันหนึ่งสำหรับใส่มองระยะไกล และอีกอันสำหรับใส่อ่านหนังสือ เลนส์สองชั้น (Bifocals) ช่วยในการมองเห็นระยะใกล้ และไกลอย่างชัดเจน และเลนส์หลายระยะ (Multifocals) ช่วยให้มองเห็นสิ่งของในระยะต่างๆซึ่งสามารถปรับโฟกัสได้หลายระยะ และสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสามารถเลือกใส่คอนแทคเลนส์ได้ เนื่องจากเลนส์มีน้ำหนักเบา และมีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่ คอนแทคเลนส์แบบนิ่ม คอนแทคเลนส์แบบแข็งซึ่งมักเป็นแบบก๊าซผ่าน คอนแทคเลนส์ แบบใส่ติดต่อกันได้เป็นระยะเวลานาน คอนแทคเลนส์รายวัน ซึ่งแพทย์จะไม่แนะนำให้ใส่คอนแทคเลนส์ข้ามคืน เนื่องจากเสี่ยงติดเชื้อที่ดวงตาได้ และการแก้ไขปัญหาสายตาผิดปกติอีกวิธีหนึ่ง คือการผ่าตัดสำหรับรักษาสายตาสั้น ประกอบด้วยการทำเลสิก LASEK พีอาร์เค และฝังแก้วตาเทียม ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การใส่เลนส์เสริมและการใส่เลนส์แบบเข้าไปแทนที่ โดยการผ่าตัดสำหรับรักษาสายตาสั้นสามารถทำได้เมื่อผู้ป่วยอายุครบ 20 ปี เพราะดวงตาจะโตเต็มที่  นอกจากนี้แพทย์จะไม่ผ่าตัดแบบใช้เลเซอร์ให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพบางอย่าง ซึ่งเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการผ่าตัด ได้แก่ ป่วยเป็นเบาหวาน เป็นโรคที่ส่งผลต่อร่างกาย มีปัญหาสุขภาพอื่นๆเกี่ยวกับดวงตา กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร อย่างไรก็ตามการผ่าตัดอาจไม่สามารถช่วยปรับสายตาให้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ และอาจทำให้เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง ได้แก่ ตาแห้ง เนื้อเยื่อกระจกตาลอกมากเกินไปส่งผลให้สายตายาวมองเห็นในที่มืดได้ไม่ดี เห็นแสงจ้าในที่แจ้ง ส่วนผู้ที่ฝังเลนส์ตาเทียมก็เสี่ยงเกิดภาวะถุงหุ้มเลนส์เทียมขุ่น ซึ่งมักเกิดหลังจากเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 2-3 เดือนหรือหลายปี อีกทั้งเสี่ยงภาวะ ตาลอก ต้อกระจก ต้อหิน เห็นแสงจ้า หรือมองเห็นในที่มืดได้ไม่ดี 

ถ้าสายตาสั้นมีผลต่อการขับขี่หรือไม่

สายตาสั้น (Nearsightedness) เป็นภาวะที่แสงสะท้อนจากวัตถุที่มอง มีการโฟกัสตกลงไปก่อนจะถึงจอรับภาพ (Retina) ทำให้ไม่สามารถมองเห็นภาพระยะไกลได้ชัดเจน ปัญหาสายตาสั้นมักเริ่มเป็นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือตอนที่อายุยังน้อย โดยสายตาจะค่อย ๆ สั้นลงจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ อีกทั้งมีแนวโน้มได้รับการถ่ายทอดภาวะนี้ทางพันธุกรรม ส่งผลต่อการใช้ชีวิตโดยทำให้คุณภาพชีวิตลดลง อาจทำงานหรือเรียนหนังสือได้ไม่ดี เนื่องจากมองเห็นสิ่งต่างๆไม่ชัดทำให้ต้องเพ่งมองมากกว่าปกติเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้ตาล้าและอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพสายตาอื่นๆตามมา เช่น ภาวะกระจกตาลอก ต้อหินหรือต้อกระจกได้สูง และที่อันตรายที่สุดคือก่อให้เกิดอุปสรรคในสิ่งต่างๆ และเกิดอันตรายสำหรับผู้ที่ขับรถ หรือควบคุมอุปกรณ์ในโรงงาน เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุหรือการทำงานผิดพลาดเนื่องจากมองเห็นระยะไกลไม่ชัด หากคุณมีภาวะสายตาสั้นหรือคิดว่ามีปัญหาเกี่ยวกับสายตา สามารถเข้าพบจักษุแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาได้ก่อนที่ค่าสายตาจะเปลี่ยนแปลงไปมากกว่านี้ และสามารถเปรียบเทียบราคา และแพ็กเกจตรวจตาได้จากคลินิก และโรงพยาบาลใกล้คุณ

วัดสายตากับคำถามที่พบบ่อย

การมองเห็นคืออะไร? 
  • การมองเห็นหมายถึงความชัดเจนหรือความคมชัดของการมองเห็น ซึ่งมักวัดโดยใช้แผนภูมิตา การทดสอบจะประเมินว่าบุคคลสามารถระบุตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ได้ดีเพียงใดในระยะมาตรฐาน
การมองเห็นวัดได้อย่างไร? 
  • โดยทั่วไป การมองเห็นจะวัดโดยใช้แผนภูมิตา เช่น แผนภูมิสเนลเลน ในระหว่างการทดสอบ บุคคลจะถูกขอให้อ่านตัวอักษรหรือสัญลักษณ์จากระยะห่างที่กำหนด ผลลัพธ์จะแสดงเป็นเศษส่วน โดย 20/20 ถือเป็นการมองเห็นปกติ
วิสัยทัศน์ 20/20 หมายถึงอะไร? 
  • การมองเห็น 20/20 ถือเป็นการมองเห็นปกติ หมายความว่าบุคคลสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20 ฟุต ซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลที่มีการมองเห็นปกติสามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเท่ากัน ถ้าคนมีสายตา 20/40 หมายความว่าพวกเขาต้องอยู่ที่ 20 ฟุตจึงจะมองเห็นสิ่งที่คนสายตาปกติสามารถมองเห็นได้ในระยะ 40 ฟุต
ควรทดสอบการมองเห็นบ่อยแค่ไหน? 
  • การตรวจสายตาเป็นประจำ รวมถึงการทดสอบการมองเห็น ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาสุขภาพตา สำหรับผู้ที่ไม่มีปัญหาด้านการมองเห็น แนะนำให้ตรวจสายตาทุก ๆ สองปี ผู้ที่มีภาวะสายตาอาจต้องทำการทดสอบบ่อยขึ้น
อะไรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการมองเห็น? 
  • การเปลี่ยนแปลงของการมองเห็นอาจเกิดจากข้อผิดพลาดในการหักเหของแสง เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง สภาพดวงตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน และจอประสาทตาเสื่อม ก็ส่งผลต่อการมองเห็นได้เช่นกัน
การมองเห็นสามารถปรับปรุงได้หรือไม่? 
  • เลนส์แก้ไขสายตา เช่น แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ มักจะสามารถปรับปรุงการมองเห็นในบุคคลที่มีข้อผิดพลาดในการหักเหของแสงได้ ในบางกรณี อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัด เช่น เลสิค เพื่อเพิ่มการมองเห็น
การมองเห็นเป็นเพียงแง่มุมเดียวของการตรวจสุขภาพตาในการตรวจตาหรือไม่? 
  • ไม่ การตรวจสายตาแบบครอบคลุมเกี่ยวข้องกับการทดสอบต่างๆ เพื่อประเมินสุขภาพดวงตา รวมถึงการตรวจหาความดันตา การมองเห็นบริเวณรอบข้าง และสุขภาพของจอตา การทดสอบเหล่านี้ช่วยตรวจหาสภาวะต่างๆ เช่น โรคต้อหิน ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และการจอประสาทตาเสื่อม
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าการมองเห็นผิดปกติ? 
  • หากการมองเห็นผิดปกติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาจะระบุสาเหตุและแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึงเลนส์ที่ต้องสั่งโดยแพทย์ การบำบัดด้วยการมองเห็น หรือการทดสอบวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อระบุสภาพดวงตาที่ซ่อนอยู่
สรุป: การทดสอบการมองเห็นเป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินสุขภาพดวงตาและการตรวจหาปัญหาการมองเห็นที่อาจเกิดขึ้น การตรวจตาเป็นประจำ รวมถึงการประเมินการมองเห็น มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคตั้งแต่เนิ่นๆ และการจัดการสภาพตาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับการมองเห็นของคุณ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาเพื่อรับการประเมินที่ครอบคลุมและคำแนะนำเฉพาะบุคคล
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด